Tuesday, September 3, 2013
Henry Moore - Notes On Sculpture
แฮนรี่ มัวร์: บันทึกเกี่ยวกับประติมากรรม
มันเป็นข้อผิดพลาดสำหรับประติมากรหรือจิตรกรที่จะพูดหรือเขียนเกี่ยวกับงานของเขาบ่อยๆ มันทำให้ความอัดอั้นที่จำเป็นสำหรับงานของเขาหายไป โดยการระบายจุดมุ่งหมายด้วยความถูกตองตามหลักการ เขากลายเป็นนักทฤษฎี ผู้ที่ผลงานจริงๆทำได้แค่ติดอยู่ในกรงขังของความคิดที่พัฒนาไปตามหลักการและคำพูด
แต่ถึงแม้ว่าการไร้ซึ่งหลักการ สัญชาติญาณ และจิตใต้สำนึกนั้น จะเป็นส่วนนึงของการทำงานของเขา กระนั้น เขาก็ยังคงมีส่วนของจิตสำนึกที่ไม่ได้ใช้งานจริง ศิลปินทำงานด้วยทุกอณูของตัวตน และส่วนของจิตสำนึกจะไม่ยอมให้เกิดปัญหา คอยจัดระเบียบความคิด และป้องกันไม่ให้เขาเดินไปสองทางในเวลาเดียวกัน
มันแน่นอนว่าประติมากรสามารถบอกเป็นนัยๆถึงประสบการณ์ของเขา ซึ่งจะช่วยคนที่สนใจอยากเข้าถึงงานประติมากรรม และหัวข้อนี้พยายามจะทำเช่นนั้นและแค่นั้น นี่ไม่ใช่การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับประติมากรรมหรือเกี่ยวกับแนวคิด พัฒนาการของตัวผม แต่มันคือการบันทึกปัญหาเล็กๆน้อยๆที่ตัวผมประสบพบเจอมา
สามมิติ
การชื่นชมงานประติมากรรมนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการตอบรับรูปทรงสามมิติ นั่นบางทีอาจจะเป็นเหตุผลที่งานประติมากรรมถูกกล่าวหาว่าเข้าถึงยากที่สุดในหมู่งานศิลปะ แน่นอนว่ามันยากกว่าศิลปะแขนงอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการรับชมแนวราบในรูปแบบสองมิติ หลายต่อหลายคนนั้น "ตาบอดทรง" มากกว่า "ตาบอดสี" เด็กเล็กที่พึ่งเรียนรู้ที่จะมองเห็นเริ่มเรียนรู้จากการแยกแยะรูปทรงสองมิติเท่านั้น เขาไม่สามารถตัดสินพื้นที่ ความลึก ต่อมาเพื่อความปลอดภัยส่วนตัวและความจำเป็น เขาถึงพัฒนา(ส่วนนึงด้วยการสัมพัส)ความสามารถในการตัดสินพื้นที่สามมิติแบบคร่าวๆ แต่เมื่อเพียงพอที่จะตอบสนองความจำเป็นส่วนตัวของตัวเอง เด็กส่วนใหญ่หยุดอยู่แค่นั้น แม้ว่าเขาอาจจะมีความเที่ยงตรงในการตัดสินภาพลักษณ์ในแนวราบ พวกเขาจะไม่พยายามที่จะพัฒนาสติปัญญาและความรู้สึกเพื่อใช้ในการเข้าใจรูปทรงในทุกๆรูปแบบ
นี่คือสิ่งที่ประติมากรต้องทำ เขาต้องพากเพียรอย่างต่อเนื่องเพื่อคิดและใช้รูปทรงให้ได้ครบทุกรูปแบบ เขาต้องมองเห็นรูปทรงที่เป็นตัวตนเด่นชัด ราวกับว่าอยู่ข้างในหัวของเขา เขาคิดถึงมัน ไม่ว่าปริมาตรใดๆ ราวกับว่าเขาถือมันอยู่ในมือของเขาเอง เขาสร้างนโนภาพของรูปทรงที่ซับซ้อนของตัวมันเอง เขารู้ว่าอีกด้านเป็นอย่างไร ในขณะที่ดูอยู่คนละฝั่ง เขาทำตัวเองให้เป็นส่วนนึงของแรงโน้มถ่วง ความหนาแน่น น้ำหนัก เขารับรู้ได้ถึงปริมาณจากรูปทรงที่แทรกแทนที่อากาศ และผู้สังเกตุที่ละเอียดอ่อนของงานประติมากรรมยังต้องเรียนรู้ที่จะรู้สึกถึงรูปทรงในแบบของรูปทรง ไม่ใช่ในแบบของการบรรยายหรือการหวนระลึกถึง เช่น เขาต้องมองไข่ให้ง่ายเป็นแค่รูปทรงที่ชัดเจนของมัน ออกห่างมาจากความคิดที่ว่ามันคืออาหารหรือความคิดที่ว่ามันจะกลายเป็นไก่ และกับสิ่งที่ชัดเจน เช่น หอย ถั่ว ลูกพลัม ลูกแพร์ ลูกอ๊อด เห็ด ยอดเขา ไต แครอท ลำต้นไม้ นก ดอกไม้ตูม นกล้ค แมลงตัวเล็ก ต้นบูลรัช กระดูก จากสิ่งเหล่านี้ เขาสามารถชื่นชมกับรูปแบบที่ซับซ้อน หรือรูปแบบต่างๆที่ผสมกลมกลืนกันได้
(แปลจากบทความบางส่วนของแฮนรี่ มัวร์ จากหนังสือ The Creative Process เรียบเรียงโดย Brewster Ghiselin)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment